วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ขยะภาวะโลกร้อน

ภาวะโลกร้อน

การเกิดขยะมูลฝอย การจัดการขยะมูลฝอยมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบถึงการเกิดมูลฝอยว่าเกิดขึ้นจากแหล่งใดบ้าง มีปริมาณและองค์ประกอบของมูลฝอยเป็นอย่างไร รวมถึงประเภทของมูลฝอยเป็นอย่างไรเพื่อที่จะทำให้การจัดการมูลฝอยเป็นไปอย่าถูกต้อง เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพ ไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถจำแนกแหล่งกำเนิดของขยะมูลฝอย โดยดูจากกิจกรรมและองค์ประกอบของมูลฝอย ได้ดังนี้
1. ขยะมูลฝอยจากบ้านเรือนที่อยู่อาศัย (Residential Waste) เป็นมูลฝอยที่เกิดจากกิจกรรมการดำรงชีพของคนที่อาศัยอยู่ในบ้านพักอาศัย อาคารชุด หรืออพาทเม้นท์ ได้แก่ เศษอาหารจากการเตรียมอาหาร หรือจากการเหลือใช้เศษกระดาษ เศษพืชผัก ถุงพลาสติก ขวดพลาสติก ใบไม้ใบหญ้า ฯลฯ
2. มูลฝอยจากธุรกิจการค้า (Commercial Waste) หมายถึงมูลฝอยจากสถานที่ที่มีการประกอบกิจการการค้า และบริการ มูลฝอยที่เกิดขึ้นก็ขึ้นอยู่กับว่า เป็นกิจกรรมประเภทใด อาจมี เศษอาหาร เศษแก้ว พลาสติก กระดาษ หรืออาจเป็นของเสียอันตราย
3. มูลฝอยจากหน่วยงานและสถาบัน (Institution Waste) เป็นมูลฝอยที่เกิดจากหน่วยงานหรือสถาบันต่าง
4. มูลฝอยจากสิ่งก่อสร้าง และรื้อถอน (Construction and Demolition Waste) หมายถึงเศษวัสดุต่างๆ ที่เกิดจากการก่อสร้าง หรือการรื้อถอน อาคารบ้านเรือน รวมถึงสิ่งที่หลงเหลือจากการตกแต่งอาคารด้วย เช่นเศษอิฐ เศษไม้
5. มูลฝอยจากการพักผ่อนหย่อนใจ (Recreation Waste) เป็นมูลฝอยจากสถานที่พักผ่อนหย่อนใจหรือสถานที่ท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นแหล่งธรรมชาติ หรืออาจเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางด้านศิลปกรรม กิจกรรมในการพักผ่อนมักต้องมีการับประทานอาหาร เครื่องดื่ม ของว่างต่างๆ ทำให้เกิดมูลฝอย ส่วนใหญ่มูลฝอยที่เกิดจากการพักผ่อนหย่อนใจจะเป็น เศษอาหาร เศษวัสดุ บรรจุภัณฑ์ ทั้งหลาย เช่น ถุงกระดาษ พลาสติก กระป๋อง ขวดแก้ว
6. มูลฝอยจากโรงพยาบาล (Hospital Waste) เป็นมูลฝอยที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ในโรงพยาบาล ส่วนมากมักถูกจัดไว้ในกลุ่มมูลฝอยอันตราย
7. มูลฝอยจากระบบบำบัดน้ำเสีย (Sewage Treatment Residues) เป็นมูลฝอยที่เกิดจากสถานที่ที่มีการบำบัดน้ำเสียโดยวิธีต่างๆ เช่น ตะกอน
8. มูลฝอยจากโรงงานอุตสาหกรรม (Industrial Waste) มูลฝอยจากโรงงานอุตสาหกรรมมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิต และ ประเภทของอุตสาหกรรม มูลฝอยจากโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิดเป็นของเสียอันตราย
9. มูลฝอยจากพื้นที่เกษตรกรรม (Agricultural Waste) แหล่งมูลฝอยที่สำคัญมักมาจากการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ เพื่อเป็นอาหารมูลฝอยจากแหล่งดังกล่าว มักประกอบด้วยมูลสัตว์ เศษหญ้า และเศษพืชผัก ภาชนะบรรจุสารเคมีทางการเกษตร เป็นต้น
การกำจัดขยะ
วิธีการกำจัดขยะมูลฝอย ( Method of Refuse Disposal ) มีหลายวิธีด้วยกัน เป็นวิธีที่ดีถูกสุขลักษณะบ้างไม่ถูกสุขลักษณะบ้าง เช่น นำไปกองไว้บนพื้นดิน, นำไปทิ้งทะเล, นำไปฝังกลบ, ใช้ปรับปรุงพื้นที่, เผา, หมักทำปุ๋ย, ใช้เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ การจัดการและการกำจัดขยะ แต่ละวิธีต่างมีข้อดีข้อเสียต่างกัน การพิจารณาว่าจะเลือกใช้วิธีใดต้องอาศัยองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ ปริมาณของขยะที่เกิดขึ้น รูปแบบการบริหารของท้องถิ่น, งบประมาณ, ชนิด – ลักษณะสมบัติของขยะมูลฝอย, ขนาด สภาพภูมิประเทศของพื้นที่ที่จะใช้กำจัดขยะมูลฝอย, เครื่องมือเครื่องใช้, อาคารสถานที่, ความร่วมมือของประชาชน, ประโยชน์ที่ควรจะได้รับ, คุณสมบัติของขยะ เช่น ปริมาณของอินทรีย์ อนินทรีย์สาร การปนเปื้อนของสารเคมีที่มีพิษและเชื้อโรค ปริมาณของของแข็งชนิดต่าง ๆ ความหนาแน่น ความชื้น ขยะที่เกิดขึ้นในชุมชนเมืองมีแหล่งที่มาจาก อาคาร บ้านเรือน บริษัท ห้างร้าน โรงงาน อุตสาหกรรม โรงพยาบาล ตลาด และสถานที่ราชการ ขยะที่ทิ้งในแต่ละวันจะประกอบด้วยเศษอาหาร กระดาษ เศษแก้ว เศษไม้ พลาสติก เศษดิน เศษหิน ขี้เถ้า เศษผ้า และใบไม้ กิ่งไม้ โดยมีปริมาณของสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน การกำจัดขยะมูลฝอย ถ้าไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการจะก่อให้เกิดผลกระทบ เสียหายต่อสิ่งแวดล้อม เกิดผลร้ายต่อชีวิต เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย การกำจัดขยะมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะจะต้องมีลักษณะ ดังนี้
1. ต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบ เสียหายต่อการดำรงชีวิตอย่างปกติสุข และวิถีชีวิตที่ดีงาม ตลอดจนองค์ประกอบของสังคมด้านใด ๆ
2. ต้องไม่ก่อให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค เช่น แมลงวัน แมลงสาบ หนู ยุง สัตว์พิษ ที่กัดต่อยมนุษย์ สัตว์เลี้ยง เช่น ตะขาบ งู
3. ต้องไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อน รำคาญ ขัดประโยชน์ ต่อประชาชนในอาณาบริเวณใกล้เคียงกัน อันเนื่องมาจากฝุ่นละออง เสียงดัง กลิ่นเหม็น อุจจาดตา เศษขยะปลิวกระจายเกะกะ ฯลฯ
4. ต้องไม่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม เช่น มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ มลพิษทางดิน มลพิษทางทัศนียภาพ







ประเภทของขยะ


ประเภทของขยะมูลฝอย
1.จำแนกตามพิษภัยที่เกิดขึ้นกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มี 2 ประเภท คือ
1) ขยะทั่วไป (General waste) หมายถึง ขยะมูลฝอยที่มีอันตรายน้อย ได้แก่ พวกเศษอาหาร เศษกระดาษ เศษผ้า พลาสติก เศษหญ้าและใบไม้ ฯลฯ
2) ขยะอันตราย (Hazardous waste) เป็นขยะที่มีภัยต่อคนและสิ่งแวดล้อม อาจมีสารพิษ ติดไฟหรือระเบิดง่าย ปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น ไฟแช็กแก๊ส กระป๋องสเปรย์ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ หรืออาจเป็นพวกสำลีและผ้าพันแผลจากสถานพยาบาลที่มีเชื้อโรค
2.จำแนกตามลักษณะของขยะ มี 2 ประเภท คือ
1) ขยะเปียกหรือขยะสด (Garbage) มีความชื้นปนอยู่มากกว่าร้อยละ 50 จึงติดไฟได้ยาก ส่วนใหญ่ได้แก่ เศษอาหาร เศษเนื้อ เศษผัก และผักผลไม้จากบ้านเรือน ร้านจำหน่ายอาหารและตลาดสด รวมทั้งซากพืชและสัตว์ที่ยังไม่เน่าเปื่อย ขยะประเภทนี้จะทำให้เกิดกลิ่นเน่าเหม็น เนื่องจากแบคทีเรียย่อยสลายอินทรียสาร นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคโดยติดไปกับแมลง หนู และสัตว์อื่นที่มาตอมหรือกินเป็นอาหาร
2) ขยะแห้ง (Rubbish) คือ สิ่งเหลือใช้ที่มีความชื้นอยู่น้อยจึงไม่ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็น จำแนกได้ 2 ชนิด คือ - ขยะที่เป็นเชื้อเพลิง เป็นพวกที่ติดไฟได้ เช่น เศษผ้า เศษกระดาษ หญ้า ใบไม้ กิ่งไม้แห้ง - ขยะที่ไม่เป็นเชื้อเพลิง ได้แก่ เศษโลหะ เศษแก้ว และเศษก้อนอิฐที่มา : สวัสดิ์ โนนสูง.ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม.2543.